admin
เต็นท์พับ
เต็นท์พับ
เต็นท์ เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ต้องมีสำหรับการไปขายของตามตลาดนัดหรือจะไปขายที่อื่นๆก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่ขายของที่อยู่กลางแจ้ง ทำให้เต็นท์จึงเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญสำหรับการตั้งร้านขายของไปโดยปริยาย ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นหน้าตาของร้าน บังแดดบังฝน ช่วยในการป้องกันความเสียหาของสินค้าเราด้วย มากน้อยก็ขึ้นอยู่คุณภาพของเต็นท์นั้นๆ และในการเลือกซื้อเต็นท์ให้ได้ตรงกับวัตถุประสงค์การใช้งานได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องสำคัญ
หากเลือกผิดตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว ก็คงยากที่จะขายของให้ได้ดี “มันก็เหมือนการแต่งตัวออกนอกบ้านจะไปพบคู่เดทเป็นครั้งแรกนั่นหล่ะครับ” เราควรจะรู้ว่าคนที่เราชอบ เขาชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ชอบสไตล์การแต่งตัวแบบไหน หากถูกใจเจ้าหล่อน โอกาสสานต่อสายสัมพันธ์ก็เป็นไปได้ ก็เฉกเช่นเดียวกับการหาเต็นท์คู่ใจซ่ะหลังหนึ่ง ก็คงต้องพิถีพิถันกันหน่อย
จะใช้แบบไหน รูปร่างหน้าตาอย่างไร สีอะไรโดนใจ คุณสมบัติพิเศษคืออะไร ก็คงต้องเลือกกันหน่อย เพราะคงต้องอยู่เจอหน้ากันอีกหลายฝน ควรต้องศึกษาหาข้อมูลต่างๆ เพื่อที่จะนำไปเลือกเป็นคู่ชีวิต… เอ้ย..ไม่ไช่ไม่ไช่.. เป็นของคู่กายในการทำมาหากินต่างหาก จึงแยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
1.จะเลือก เต็นท์พับ หรือ เต็นท์ประกอบ ดีน่า…
สำหรับเรื่องของการติดตั้งเต็นท์ จะแบ่งเป็น เต็นท์พับ กับ เต็นท์ประกอบ
เต็นท์พับ ก็คือ เต็นท์ที่พับได้ สะดวกในการติดตั้ง เพียงกางออกมาก็สามารถตั้งได้แล้ว แต่อาจต้องใช้สองคนในการช่วยกางอยู่เหมือนกัน แต่จะประหยัดเวลา สะดวกในการขนย้ายเพราะอุปกรณ์ทั้งหมดติดอยู่ด้วยกัน
เต็นท์ประกอบ คือ เต็นท์ที่ต้องนำชิ้นส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นเต็นท์ ประกอบด้วย โครงเหล็กที่แยกชิ้นออกจากกัน เหล็กเสา เหล็กคาน เหล็กข้อต่อ เหล็กหน้าจั่ว ผ้าใบ เป็นส่วนที่ปกปิด ทำหน้าที่กันแดดกันฝน อีกหน้าที่คือ หน้าตาของร้าน จากสีสันของผ้าใบนั่นเอง
เต็นท์พับ : ติดตั้งได้ง่ายกว่าเต็นท์ประกอบ , อาจมีการชำรุดต้องจ๊อยของข้อต่อเพราะต้องกางเข้ากางออก , เหมาะกับผู้ขายที่ต้องเคลื่อนย้ายอยู่ตลอด
เต็นท์ประกอบ : ใช้เวลาในการติดตั้ง , เหมาะสำหรับที่ไม่ต้องเคลื่อนย้ายประกอบแล้วคงไว้อย่างนั้นเลย
ส่วนในการจะเลือกซื้อว่าจะใช้เป็น เต็นท์พับ หรือ เต็นประกอบ นั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน และ สถานที่ขายของเป็นหลัก หากต้องมีการเคลื่อนย้ายร้านอยู่ทุกวัน ก็น่าจะเลือกเต็นท์พับมากกว่า เพราะสะดวกในการเคลื่อนย้าย แต่หากไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายก็สามารถเลือกเป็นเต็นท์ประกอบน่าจะดีกว่า ด้วยเหตุที่ว่าจะมีความแข็งแรง ทนกว่า โดยเฉพาะถ้าเป็นเต็นท์พับ จะมีการขยับของจ๊อยข้อต่ออยู่เลยๆ ทุกครั้งที่มีการกางเต็นท์ทำให้การใช้งานสั้นลงไป ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากคุณภาพของวัสดุที่ทำประกอบด้วย
2.ชนิดของผ้าใบที่ใช้ทำ เต็นท์
เป็นอีกเรื่องต้องพิจารณา ทั้งคุณภาพของผ้า ชนิดของผ้าใบ และสีของผ้าใบ(สีจะไปกล่าวในข้อที่ 4)
ชนิดของผ้าใบมี 3 แบบ
2.1.ผ้าใบคูนิล่อน เป็นผ้าใบเคลือบพีวีซี เสริมด้วยไนล่อน เป็นผ้าใบเคลือบสองหน้า ผิวเรียบมันและนิ่ม ทนแดด ทนฝน ทนต่อแรงดึง กันน้ำได้ทั้งสองหน้า ส่วนใหญ่อยู่ในเต็นท์ขนาดใหญ่ อายุการใช้งาน 3-5 ปี
2.2.ผ้าใบ 600 D เป็นผ้าใบที่สองด้านไม่เหมือนกัน ด้านหนึ่งจะมีลักษณะเป็นเนื้อผ้า ส่วนอีกด้านจะเป็นลักษณะยางเคลือบ ผิวลื่นมัน ซึ่งเคลือบเนื้อยางนั่นเอง กันน้ำได้ ส่วนใหญ่เป็นเต็นท์เล็กปิระมิดทั้งหลาย อายุการใช้อยู่ 3-5 ปี
2.3.ผ้า 420 D Nylon เป็นผ้าใบชนิดโพลีเอสเตอร์ หรือที่เรียกว่าผ้าใบเส้นใยสังเคราะห์ชนิดไนล่อน ส่วนใหญ่ก็จะเรียกว่า 420d เป็นผ้าใบที่ใช้ในเต็นท์ขนาดเล็ก กางเข้ากางออกบ่อยๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในเต็นท์พับ อายุการใช้งาน 1-2 ปี
3.เหล็กโครงสร้างของ เต็นท์ ทั่วไปที่มีขายในท้องตลาดมีให้เห็นอยู่ 4 ชนิด คือ
3.1.เหล็กเฟอร์นิเจอร์ เป็น เหล็กกลมบางใช้ทำโครงของเฟอร์นิเจอร์มักไม่ได้อยู่ในที่กลางแจ้ง ดังนั้นจะขึ้นสนิมง่าย แข็งแรงไม่มาก
3.2.เหล็ก Pipe กล่องเหลี่ยม เป็นเหล็กกล่องเหลี่ยมมีลักษณะการใช้งานใน โครงร่ม โครงเต็นท์พับได้
ข้อดี:ของเหล็กชนิดนี้ คือ น้ำหนักเบา ราคาถูก
ข้อเสีย:คือ ไม่คงทนต่อสภาพงานภายนอก
3.3.เหล็กท่อดำ เหล็กชิดนี้ คือเหล็กที่เราเลือกนำมาทำโครงสร้างเต็นท์ประกอบ ลักษณะของเหล็กแบบนี้ คือ เป็นเหล็กท่อกลมและไม่มีเกลียว ข้อดี เหล็กหนา และ แข็งแรง มีน้ำหนัก ไม่เบา ราคาไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับ เหล็กแป๊บชุบสังกะสี
3.4.เหล็กท่อแป๊บปะปา สำหรับเหล็กตัวนี้คือ นำเหล็กแป๊บท่อดำนำมาชุบซิงค์ หรือที่เรียกว่า “สังกะสี” เพื่อเป็นการป้องกันเกิดสนิม
ข้อดี : ป้องกันไม่ให้เกิดสนิม กับตัวเหล็ก ( แต่หากกางถาวร ระยะยาว ก็เกิดสนิมได้ค่ะ )
ข้อเสีย :ราคาสูง 2.น้ำหนัก หนักมาก
สำหรับเรื่องเหล็กต้องพิจารณาความหนา-บาง ของเหล็กด้วย เพราะจะมีการนำเหล็กคนละชนิดมาใช้งานกับเต็นท์แบบผิดประเภทการใช้งาน และลดต้นทุนด้วยการลดขนาดและความหนาของเหล็ก เพื่อทำราคาให้ถูกๆ จะได้ง่ายต่อการขายนั่นเอง
4.สีของ เต็นท์ บ่อบอกความเป็นตัวคุณ
สีของเต็นท์ควรเลือกใช้ให้เหมาะกับตัวสินค้าและธีทของร้าน หากว่าจะขายอาหาร ก็ควรเลือกสีส้ม ฉะนั้นเราควรรู้จักความหมายของสี หรือ อาจเรียกว่า “ความรู้สึกของแต่ละสี”
สีแดง ให้ความรู้สึกร้อนแรง รวดเร็ว เคลื่อนไหว ตื่นตัว ไม่หยุดนิ่ง
สีส้ม ให้ความรรู้สึก ร้อนแบบความอบอุ่น ความสดใสแบบมีชีวิตชีวา เหมือนวัยรุ่นที่มีความคึกคะนอง เร่งเร้าให้ลิ้มลอง
สีขาว ให้ความรู้สึกบริสุทธิ์แบบสะอาด ความใหม่ที่สดใส
สีเขียว ให้ความรู้สึกงอกงามเป็นธรรมชาติ สดชื่นสบายๆ เงียบสงบแบบร่มรื่น พักผ่อนและผ่อนคลายแบบเข้าถึงธรรมชาติ
สีเหลือง ให้ความรู้สึกสดชื่นแจ่มใส ความร่าเริงและเบิกบานสดชื่น ให้ชีวิตใหม่ๆกับความสดแบบใหม่
สีน้ำตาล ให้ความรู้สึกเก่ามีคุณค่าน่าค้นหา หนักแน่นแบบสงบเงียบ
สีน้ำเงิน ให้ความรู้สึกสุขุมและลุ่มลึก สุภาพและหนักแน่น เคร่งขรึมเอาจริงเอาจัง
เต็นท์สีเขียว หน้าห้างโลตัส ที่เรียงรายอย่างสวยงาม ให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ ปลอยภัย ซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านขายอาหารนานาชนิด..
เต็นท์สีส้ม.. เมื่อรวมตัวอยู่แบบเป็นกลุ่มเป็นก้อน เพิ่มความคึกคักได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ตั้งอยู่หน้าห้างสรรพสินค้า Major blow ปิ่นเกล้า ทำให้รู้สึกถึงความกระฉับกระเฉง ในการมีส่วนรวมกับการเล่นกีฬาภายในห้าง…
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของอารมณ์ของสี ซึ่งแต่ละสีก็จะมีความรู้สึกที่แตกต่างๆ กันออกไป การเลือกใช้สีของเต็นท์จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการใช้งาน เช่น ถ้าอยากสินค้าที่เป็นออร์แกนิก สินค้าที่ทำมาจากธรรมชาติ ควรใช้ สีเขียว หรือ ถ้าขายของเก่าของโบราณก็ควรเลือกใช้ “สีน้ำตาล” หรือ ถ้าสินค้าวัยรุ่นวัยทีน ก็ควรใช้สีส้ม สีแดง หรือสีสดใสสดใส นั่งเอง
แม้แต่… อยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่แล้ว เต็นท์ ก็ยังเข้ามีบทบาท เพิ่มความน่าสนใจให้กับตลาดโดยรวม.. โดยเฉพาะยามค่ำคืน จะสวยงามมากๆ
5.ขนาดของ เต็นท์ ต้องเลือกใช้
ถ้าใช้แบบจตุรัส สี่เหลี่ยมด้านเท่า ก็จะมีตั้งแต่ 1.5×1.5 , 2×2 , 3×3
หากใช้แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก็มีให้เลือกตั้งแต่ 2×3 , 2×4
หากต้องการหน้าร้านที่กว้าง จัดเรียงโชว์สินค้าได้เยอะ ก็เลือกใช้แบบผืนผ้า แต่ถ้าพื้นที่จำกัด หรือพึ่งจะเริ่มต้นใหม่ก็ใช้แบบจตุรัสเล็กไปก่อน แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงตลาดนัดที่เราไปลงขายด้วย บ้างที่ขนาดไม่เท่ากัน หากต้องการเปลี่ยนทำเลขายของปล่อยๆ ก็ต้องดูขนาดนั้นว่าสามารถลงกับตลาดที่เราไปขายของเหลือไม่ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2 เมตร x 2 เมตร ต้องการหน้าร้านที่กว้างขึ้นก็ต้องเช่าล็อคที่ละ 2 ล็อค.
ถ้าเปลี่ยนจากผ้าใบเป็นเต็นท์สีส้ม ติดป้ายร้านอย่างสวยงาม จะเพิ่มคุณค่าให้กับตัวสินค้าได้เท่าทวีคุณ ร้านเป็ดพะโล้ที่แสนธรรมดา จะกลับดูมีชีวิตชีวา และเพิ่มความสะอาดตาได้เป็นอย่างมาก…
เต็นท์ถึงแม้จะมีสีเดียวเหมือนกันหมดแต่ขาดการดูแลเอาใจใส่ ก็ดูจะหม่นหมอง…
สรุป การเลือกซื้อ เต็นท์ ควรเลือกซื้อจากตัวสินค้าของเรา ธีมของร้าน กลุ่มลูกค้าของเราคือใคร ขนาดของพื้นที่ใช้สอยที่เราได้ลงขาย การใช้งานเป็นแบบเคลื่อนย้ายบ่อยๆ หรือไม่ หรือตั้งอยู่กับที่ คุณภาพของสินค้ามีอายุการใช้งานกี่ปี การติดตั้งเต็นท์ต้องทำอย่างไรบ้าง ทุกเรื่องมีส่วนสำคัญที่ต้องพิจารณา และเรียนรู้พร้อมทดลองฝึกฝนในการติดตั้งเต็นท์ด้วยตัวเอง ว่าทำได้หรือไม่ หากไม่ได้จะทำอย่างไร อาจต้องหาคนที่รับจ้างตั้งเต็นท์ที่มีคอยบริการอยู่ที่ตลาดนั้นๆ มาทำให้หรือไม่ ราคาเท่าไหร่