ผมร่วง

ผมร่วงหลังจากการคลอดบุตร

ผมร่วงหลังคลอดเกิดขึ้นเมื่อน้องอายุได้ 3 เดือน ซึ่งอาจร่วงได้ถึงวันละ 300 – 400 เส้นเลยก็เป็นได้แต่ไม่ต้องตกใจ หรืออย่ากังวลไป เพราะถือว่าเป็นเรื่องปกติ และก็จะเกิดขึ้นชั่วคราวในช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้น สาเหตุเกิดจากคุณแม่หลังการคลอดบุตรมี ผมร่วง นั้นเกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์นั้นมีอยู่ในระดับที่สูงต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน และเมื่อคุณแม่คลอดน้องแล้วระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลงมาอย่างกะทันหัน ทำให้เส้นผมที่เคยหนา ดกดำ และไม่ค่อยร่วง จะหลุดร่วงออกไปพร้อมๆกัน

ไม่มีวิธีไหนที่จะหยุดผมร่วงได้ โดยทั่วไปแล้วอาการจะหาย ผมจะค่อยๆหยุดร่วง และผมก็จะงอกขึ้นมาทดแทนใหม่ภายในเวลาประมาณ 6 – 12 เดือนหลังคลอด ถึงแม้คุณแม่จะไม่สามารถยับยั้งการหลุดร่วงของเส้นผมได้ แต่คุณแม่ก็ยังสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ให้สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อลูกน้อย ที่จะเข้าไปบำรุงร่างกายและบำรุงรากผมให้แข็งแรงจากภายใน เช่น เนื้อ นม ไข่ ผัก5สี ผลไม้ 5 สี ข้าว ถั่ว งา เป็นต้น และอีกทางเลือกหนึ่งที่คุณแม่สามารถทำควบคู่กันไป นั่นก็คือ การบำรุงรักษา รากของเส้นผม จากภายนอก ด้วยผลิตภัณฑ์ดูแลรากผมที่สกัดจากธรรมชาติ เพื่อป้องกัน ผมร่วง ผมบาง หรือ ปัญหาเส้นผมและหนังศีรษะในอนาคต และเพื่อความปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างที่จะส่งผลต่อลูกน้อยด้วย ในกรณีคุณแม่ให้นมลูกน้อย ยังยืนยันและยังคงให้ความสำคัญอยู่ที่การรับประทานอาหารเป็นหลัก

การอาการแพ้แชมพู

   แชมพูที่ดีนอกจากจะช่วยล้างทำความสะอาดสิ่งสกปรกให้ออกไปจากเส้นผมแล้ว แชมพูที่ดีจะไม่ระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ล้างออกง่าย และช่วยให้ผมนุ่มสลวยจัดทรงง่าย แต่แชมพูไม่ได้มีเพียงแต่สารลดเเรงตึงผิวเท่านั้น ยังมีสารต่างๆเพื่อให้แชมพูน่าใช้ เช่น น้ำหอม สี ยาบางชนิด และสารป้องกันตกตะกอน อาจเป็นไปได้ว่าอาการแพ้แชมพูนั้น สาเหตุแท้จริงอาจมาจากสารหลัก และอาจมาจากการแพ้สารเติมแต่งบางชนิดก็เป็นได้ ซึ่งอาการที่พบบ่อยที่สุด คือมีผดผื่น อาการคันหนังศีรษะ เป็นรังแค เส้นผมร่วง  เมื่อมีอาการเหล่านี้ที่ใช้แชมพูจะต้องหยุดใช้แชมพูนั้นๆทันที

    แชมพูมีสารลดแรงตึงผิวเป็นสารประกอบหลักซึ่ง แน่นอนว่าเป็นสารเคมีที่ส่วนใหญ่จะมีค่าความเป็นด่างสูง  ทำหน้าที่ชะล้างสิ่งสกปรกโดยไม่แยกแยะว่าส่วนไหนควรกำจัด หรือส่วนใหนควรละเว้น แน่นอนว่าน้ำมันธรรมชาติที่ต่อมไขมันใต้ผิวหนังศีรษะผลิตออกมาเพื่อป้องกัน และสร้างความแข็งแรงให้แก่หนังศีรษะ ก็ถูกชะล้างออกไปด้วยเช่นกันทำให้หนังศีรษะขาดความชุ่มชื้นอย่าไม่สมดุล และเมื่อหนังศีรษะเกิดความอ่อนแอสะสมสารเคมีอื่นๆ ที่ไม่น่าจะสร้างปัญหาให้แก่เส้นผมและหนังศีรษะได้ เช่นสารแต่งเติมก็จะเข้าไปอุดตันตามรูขุมขนทั่วหนังศีรษะ และเส้นผมจะสามารถสร้างความเสียหาย และทำให้เกิดการระคายเคือง  เกิดอาการคันหนังศีรษะ เส้นผม แห้งชีฟู ขึ้นได้ และเมื่อเกิดการสะสมโดยไม่มีการ หยุด หรือเปลี่ยนแชมพู อาการก็จะเริ่มรุนแรงขึ้น เช่นเกิดการแตกตัวและหลุดออกของเซลหนังศีรษะที่เรวผิดปกติ จนเกิดเป็นรังแค ผิวหนังอักเสบ และเส้นผมร่วง เป็นต้น

   ควรเลือกใช้แชมพูที่มีความอ่อนโยน แต่หากหลีกเลี่ยงที่จะต้องพบเจอกับแชมพูที่มีส่วนผสมของสารชะล้างที่มีปริมาณมากๆ ไม่ได้เราก็ควรล้างฟองออกให้หมดจด เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของสารเคมี และหากเริ่มมีอาการแสบ คันหนังศีรษะ ผมร่วง หลังจากใช้แชมพูครั้งแรกต้องหยุดใช้แชมพูนั้นๆทันที

  

โรคพุ่มพวงกับปัญหาผมร่วง

โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง คนไทยเรารู้จักกันดีในชื่อ โรคพุ่มพวง เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันโดยตรง ปกติคนเราจะมีภูมิคุ้มกันไว้เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค แบททีเรีย ไวรัสต่างๆ ที่แปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย แต่ด้วยปัจจัยบางอย่าง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเกิดการสับสนเข้าใจว่า เนื้อเยื่อในร่างกายเป็นสิ่งแปลกปลอมแล้วก็ส่งปฎิกิริยาเกิดการอักเสบเพื่อที่จะทำลาย โดยการส่งเม็ดเลือดขาวพร้อมทั้งผลิตตัวภูมิชนิดหลั่งออกมา เพื่อไปทำลายตามส่วนต่างๆของร่างกาย80% ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเป็นผู้หญิงที่มาอายุ อู่ระหว่าง 20 – 45 ปี ซึ่งไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า

ความรุนแรงของโรคก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็นในส่วนใด ระบบใดของร่างกาย เช่น ระบบประสาท ระบบหัวใจ ระบบเลือด กล้ามเนื้อ ระบบไต ระบบทางเดินอาหาร  และระบบผิวหนัง สาเหตุที่ผมร่วงนั้นไม่ได้เกิดจากสาเหตุนี้เพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่เซลล์ที่เกิดการอักเสบมาล้อมบริเวณรากผม ทำให้ภูมิคุ้มกันเกิดความสับสนเข้าใจว่าเซลล์รากผมคือสิ่งแปลกแล้วหลั่งสารออกมาทำลาย ทำให้รากผมเสียหายและเส้นผมร่วงได้เช่นกัน ปัญหาผมร่วงส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับช่วงเวลาที่โรคกำเริบ และเมื่อโรคสงบลงจะพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีผมแหว่งไป และเมื่อเจอแสงแดง หรือสัมผัสแสงแดด ในบริเวณที่แหว่งนั้นก็จะเกิดอาการแสบแดง ซึ่งวิธีที่จะหยุดปัญหาผมร่วง นั้นส่วนใหญ่จะเป็นวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการ การบำรุง เร่งการเจริญเติบโตของเส้นผม ตามลำดับ ซึ่งผลที่ได้มากน้อยนั้น จะแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพและลักษณะการดำเนินโรคของผู้ป่วยแต่ละคน

โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง แม้เป็นโรคที่สามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตแต่หากผู้ป่วยได้รับการรักษาและมีการควบคุมการกำเริบของโรคที่ดี มีความระมัดระวังในการใชีวิต  มีการดูแลรักษาสุขภาพ และฎิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ผู้ป่วยก็จะสามารถหายจากอาการและสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ